ThaiEMB.com สังคมแห่งมิตรภาพ และการแบ่งปัน
วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2568, 23:32:22 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เว็บบอร์ด   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
collapse
กฏ-กติกา : ห้ามจำหน่าย, จ่ายแจก ซอฟแวร์ หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ในเว็บบอร์ด Thaiemb แห่งนี้โดยเด็ดขาด
ไม่ว่าจะเป็นทางหน้าบอร์ด หรือหลังไมค์(PM) หากพบเห็นท่านจะถูกแบน User ถาวร.!!!
หากท่านถูกในในผลงาน หรืออยากสนับสนุนให้ผู้สร้างสรรค์ผลงานมีกำลังใจในการสร้างสรรค์ผลงาน
โปรดช่วยบริจาคให้ผู้จัดทำบ้างตามกำลังนะครับ.!!!  062

หน้า: [1] 2   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: อุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากกระแสไฟฟ้าให้จักรของเรา  (อ่าน 18922 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
tongtawee
Extras Member
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1061
สมาชิก Nº: 30

คำขอบคุณ
-ได้ให้: 2405
-ได้รับ: 5412


« เมื่อ: วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2556, 23:54:40 »

วันนี้มีของเล่นใหม่เข้ามา สั่งมาให้น้องจักรโดยเฉพาะ "KPS Automatic Voltage Stabilizer" ทำหน้าที่แปลงกระแสไฟฟ้าให้นิ่ง ป้องกันไฟตก ไฟเกิน ไฟกระชาก ฟ้าผ่า (แต่ไม่สำรองไฟ) ขนาด 10 KVA  INPUT 220 VAC +- 20 %  OUTPUT 220 VAC +- 5%  ใช้กับจักรหลาย ๆ หัว ได้อย่างสบาย ๆ  ไชโย
คุณไม่สามารถดูข้อความนี้.กรุณา ลงทะเบียน หรือ เข้าสู่ระบบ
คุณไม่สามารถดูข้อความนี้.กรุณา ลงทะเบียน หรือ เข้าสู่ระบบ
บันทึกการเข้า

เพราะแสวงหา มิใช่ เพราะรอคอย
เพราะเชียวชาญ มิใช่ เพราะโอกาส
เพราะสามารถ มิใช่ เพราะรอคอย
ลิลิตฟ้า หรือ จะสู้ มานะตน

คำคมจาก...คุณไก่ สมพล รายการกิ๊กดู่สงครามเพลง
คุณไม่สามารถดูข้อความนี้.กรุณา ลงทะเบียน หรือ เข้าสู่ระบบ
 
Akai
Sr. Member
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 433
สมาชิก Nº: 78

คำขอบคุณ
-ได้ให้: 2229
-ได้รับ: 1834


โปรแกรม: Wilcom e2 Licensed
« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2556, 00:56:32 »


อันละกี่ตังค์ล่ะ ?

บันทึกการเข้า


ปักร้อยแปด บิ๊กซีบางพลี
tongtawee
Extras Member
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1061
สมาชิก Nº: 30

คำขอบคุณ
-ได้ให้: 2405
-ได้รับ: 5412


« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2556, 09:41:47 »

คุณไม่สามารถดูข้อความนี้.กรุณา ลงทะเบียน หรือ เข้าสู่ระบบ
อันละกี่ตังค์ล่ะ ?



ราคาตามขนาดครับ แต่ตู้นี้แพงพอสมควร 2x,xxx
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2556, 10:08:21 โดย tongtawee » บันทึกการเข้า

เพราะแสวงหา มิใช่ เพราะรอคอย
เพราะเชียวชาญ มิใช่ เพราะโอกาส
เพราะสามารถ มิใช่ เพราะรอคอย
ลิลิตฟ้า หรือ จะสู้ มานะตน

คำคมจาก...คุณไก่ สมพล รายการกิ๊กดู่สงครามเพลง
คุณไม่สามารถดูข้อความนี้.กรุณา ลงทะเบียน หรือ เข้าสู่ระบบ
Mai
Full Member
***

ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 127
สมาชิก Nº: 65

คำขอบคุณ
-ได้ให้: 941
-ได้รับ: 1016


โปรแกรม: Wilcom2006
จักรปัก: TOYOTA 820A
« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2556, 10:24:06 »

คุณไม่สามารถดูข้อความนี้.กรุณา ลงทะเบียน หรือ เข้าสู่ระบบ
วันนี้มีของเล่นใหม่เข้ามา สั่งมาให้น้องจักรโดยเฉพาะ "KPS Automatic Voltage Stabilizer" ทำหน้าที่แปลงกระแสไฟฟ้าให้นิ่ง ป้องกันไฟตก ไฟเกิน ไฟกระชาก ฟ้าผ่า (แต่ไม่สำรองไฟ) ขนาด 10 KVA  INPUT 220 VAC +- 20 %  OUTPUT 220 VAC +- 5%  ใช้กับจักรหลาย ๆ หัว ได้อย่างสบาย ๆ  ไชโย

ไม่สำรองไฟ  เวลาไฟดับเครื่องก็ดับไปเฉยๆ เลยหรือคะ
การใช้งานต่างกับตัวที่สำรองไฟด้วยมั๊ยคะ  ตัวไหนควรใช้มากกว่ากันคะ
บันทึกการเข้า
JTC
I am the wind
Hero Member
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4629
สมาชิก Nº: 3

คำขอบคุณ
-ได้ให้: 6113
-ได้รับ: 31077


โปรแกรม: Wilcom
จักรปัก: None
« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2556, 10:46:20 »

Stabilizer หน้าที่หลักคือ ป้องกันไฟเกินไฟตก ไฟกระชาก ซึ่งอาจทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เกิดความเสียหายเกิดขึ้นจากสาเหตุเหล่านี้

ส่วน UPS หน้าที่หลักคือ จ่ายไฟสำรองให้กับเครื่องใช้ยามที่ไฟดับ หรือ ไฟตกเกินกว่าที่วงจรกำหนดไว้ แต่ไม่สามารถป้องกันเหตุเหมือน Stabilizer ได้ ส่วนจะจ่ายไฟสำรองได้นานแค่ไหนก็อยู่ที่แบตเตอรี่ภายในว่าจะสำรองไฟได้มากน้อยเพียงใด
บันทึกการเข้า

มาร่วมกันรณรงค์ใช้ภาษาไทยกันอย่างถูกต้องกันดีกว่า
งดให้ความช่วยเหลือกับผู้ใช้ภาษาไทยไม่ถูกต้อง
Facebook : คุณไม่สามารถดูข้อความนี้.กรุณา ลงทะเบียน หรือ เข้าสู่ระบบ
tongtawee
Extras Member
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1061
สมาชิก Nº: 30

คำขอบคุณ
-ได้ให้: 2405
-ได้รับ: 5412


« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2556, 11:11:15 »

สุขภาพจักรเป็นสิ่งสำคัญครับ เกิดป่วยขึ้นมา ค่าหมอ ค่ายา แพง จะเข้าตำราที่ว่าเสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย  Smiley
บันทึกการเข้า

เพราะแสวงหา มิใช่ เพราะรอคอย
เพราะเชียวชาญ มิใช่ เพราะโอกาส
เพราะสามารถ มิใช่ เพราะรอคอย
ลิลิตฟ้า หรือ จะสู้ มานะตน

คำคมจาก...คุณไก่ สมพล รายการกิ๊กดู่สงครามเพลง
คุณไม่สามารถดูข้อความนี้.กรุณา ลงทะเบียน หรือ เข้าสู่ระบบ
Mai
Full Member
***

ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 127
สมาชิก Nº: 65

คำขอบคุณ
-ได้ให้: 941
-ได้รับ: 1016


โปรแกรม: Wilcom2006
จักรปัก: TOYOTA 820A
« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2556, 11:11:50 »

คุณไม่สามารถดูข้อความนี้.กรุณา ลงทะเบียน หรือ เข้าสู่ระบบ
Stabilizer หน้าที่หลักคือ ป้องกันไฟเกินไฟตก ไฟกระชาก ซึ่งอาจทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เกิดความเสียหายเกิดขึ้นจากสาเหตุเหล่านี้

ส่วน UPS หน้าที่หลักคือ จ่ายไฟสำรองให้กับเครื่องใช้ยามที่ไฟดับ หรือ ไฟตกเกินกว่าที่วงจรกำหนดไว้ แต่ไม่สามารถป้องกันเหตุเหมือน Stabilizer ได้ ส่วนจะจ่ายไฟสำรองได้นานแค่ไหนก็อยู่ที่แบตเตอรี่ภายในว่าจะสำรองไฟได้มากน้อยเพียงใด

ถ้างั้นควรติดตั้งทั้งสองตัวคู่กันสำหรับเครื่องจักร 1 เครื่องหรือคะ
บันทึกการเข้า
tongtawee
Extras Member
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1061
สมาชิก Nº: 30

คำขอบคุณ
-ได้ให้: 2405
-ได้รับ: 5412


« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2556, 11:20:05 »

คุณไม่สามารถดูข้อความนี้.กรุณา ลงทะเบียน หรือ เข้าสู่ระบบ
ถ้างั้นควรติดตั้งทั้งสองตัวคู่กันสำหรับเครื่องจักร 1 เครื่องหรือคะ

KPS ขนาด 10 KVA มีกำลังไฟมากพอที่จะใช้ร่วมกับจักรหลาย ๆ ตัวพร้อมกันได้ แต่เครื่องสำรองไฟควรแยกเป็นเครื่องใครเครื่องมัน  โดยวิธีการต่อ  KPS---เครื่องสำรองไฟ----จักร
บันทึกการเข้า

เพราะแสวงหา มิใช่ เพราะรอคอย
เพราะเชียวชาญ มิใช่ เพราะโอกาส
เพราะสามารถ มิใช่ เพราะรอคอย
ลิลิตฟ้า หรือ จะสู้ มานะตน

คำคมจาก...คุณไก่ สมพล รายการกิ๊กดู่สงครามเพลง
คุณไม่สามารถดูข้อความนี้.กรุณา ลงทะเบียน หรือ เข้าสู่ระบบ
yang
Newbie
*

มือใหม่ฝากตัวด้วยครับ
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 23
สมาชิก Nº: 185

คำขอบคุณ
-ได้ให้: 169
-ได้รับ: 44


« ตอบ #8 เมื่อ: วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2556, 11:59:18 »

คุณไม่สามารถดูข้อความนี้.กรุณา ลงทะเบียน หรือ เข้าสู่ระบบ
KPS ขนาด 10 KVA มีกำลังไฟมากพอที่จะใช้ร่วมกับจักรหลาย ๆ ตัวพร้อมกันได้ แต่เครื่องสำรองไฟควรแยกเป็นเครื่องใครเครื่องมัน  โดยวิธีการต่อ  KPS---เครื่องสำรองไฟ----จักร
รบกวนขอถามครับ ต่อ  KPS---เครื่องสำรองไฟ-จักร  wave ไฟที่ได้ จะได้แบบไหนครับ sine wave หรือ step wave ถ้าตัว kps ให้ sine wave อยู่แล้ว  แต่ ups ไม่แน่ใจ  แล้วแต่รุ่นครับ เคยคิดจะต่อแบบท่าน อ.tongtawee แต่ก็ไม่มั่นใจ...ตอนนี้กำลังหาอยู่เหมือนกัน
ป้องกันดีกว่าแก้ครับ ผมอยากสำรอง สัก 10 นาทีก็พอแล้วครับ
บันทึกการเข้า
tongtawee
Extras Member
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1061
สมาชิก Nº: 30

คำขอบคุณ
-ได้ให้: 2405
-ได้รับ: 5412


« ตอบ #9 เมื่อ: วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2556, 12:30:54 »

คุณไม่สามารถดูข้อความนี้.กรุณา ลงทะเบียน หรือ เข้าสู่ระบบ
รบกวนขอถามครับ ต่อ  KPS---เครื่องสำรองไฟ-จักร  wave ไฟที่ได้ จะได้แบบไหนครับ sine wave หรือ step wave ถ้าตัว kps ให้ sine wave อยู่แล้ว  แต่ ups ไม่แน่ใจ  แล้วแต่รุ่นครับ เคยคิดจะต่อแบบท่าน อ.tongtawee แต่ก็ไม่มั่นใจ...ตอนนี้กำลังหาอยู่เหมือนกัน
ป้องกันดีกว่าแก้ครับ ผมอยากสำรอง สัก 10 นาทีก็พอแล้วครับ
โดยปกติที่เห็นจำหน่ายส่วนมากจะเป็น sine wave หมดนะครับ  จะมี  UPS บางรุ่นเท่านั้นที่เป็น step wave  เวลาเลือกก็ให้เลือกแบบ sine wave เพราะกระแสไฟที่ได้จะได้ใกล้เคียงกับกระแสไฟบ้านมากที่สุดครับ
บันทึกการเข้า

เพราะแสวงหา มิใช่ เพราะรอคอย
เพราะเชียวชาญ มิใช่ เพราะโอกาส
เพราะสามารถ มิใช่ เพราะรอคอย
ลิลิตฟ้า หรือ จะสู้ มานะตน

คำคมจาก...คุณไก่ สมพล รายการกิ๊กดู่สงครามเพลง
คุณไม่สามารถดูข้อความนี้.กรุณา ลงทะเบียน หรือ เข้าสู่ระบบ
toto6364
Extras Member
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 477
สมาชิก Nº: 27

คำขอบคุณ
-ได้ให้: 286
-ได้รับ: 1821


เว็บไซต์ โปรแกรม: Wilcom e3.0
จักรปัก: ฮูเรย์ เวนเจอร์ (hooray)
« ตอบ #10 เมื่อ: วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2556, 23:12:59 »

ขนาดของ UPS (ยูพีเอส) และการนำไปใช้งาน
             ก่อนที่เราจะไปเลือกซื้อ UPS (ยูพีเอส) มาใช้งานกัน เราต้องทราบก่อนว่าเราต้องนำ UPS (ยูพีเอส) นี้ไปใช้งานในด้านใดด้านใด เมื่อเราทราบแล้วว่าเราต้องการนำ UPS (ยูพีเอส) นี้ไปใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ใด จากนั้นต้องหา UPS (ยูพีเอส) ที่มีขนาดที่เหมาะสมกับอุปกรณ์ต่อเชื่อมของเรา โดยขนาดของ UPS (ยูพีเอส) นี้จะมีหน่วยเป็นค่า VA หรือ KVA ซึ่งค่านี้อาจทำให้ท่านสับสนอยู่บ้างเพราะไม่ทราบว่าความจุขนาดนี้เหมาะสมกับการใช้งานขนาดใด ดังนั้นผมจึงมีวิธีการในการคำนวณหาค่า VA ที่เหมาะสมกับการใช้งานของท่านมาฝากกันครับ
ท่านลองประมาณค่าของเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณนั้นกินไฟสักกี่วัตต์ (Watts) แล้วนำค่าวัตต์นี้ไปหารด้วยค่า Power Factor (ค่านี้สามารถสังเกตได้จากบนเครื่องของ UPS (ยูพีเอส) ) แล้วท่านจะได้เป็นค่า VA ออกมา แต่ส่วนมากอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไปก็จะบอกขนาดวัตต์ให้คุณทราบเลย นอกจากจะใช้วิธีคำนวณเพื่อหาค่า VA ที่เหมาะสมจากข้างบนแล้ว ยังมีวิธีคำนวณอื่นๆด้วย คือ เมื่อท่านทราบว่า UPS (ยูพีเอส) มีขนาดกี่ VA แล้วและมีค่าของ Power Factor แล้ว เราก็นำค่า VA และค่า Power Factor นี้มาคูณกัน เพื่อจะได้ค่าเป็นจำนวนวัตต์ ที่ UPS (ยูพีเอส) ตัวนั้นสามารถที่จะรองรับได้
             ตัวอย่างการคำนวณ
             1.สมมติว่า UPS เครื่องหนึ่งมีขนาดเท่ากับ 500 VA และมีค่า Power factor เท่ากับ 0.8 เราก็สามารถที่จะหาขนาดวัตต์ที่ UPS นี้สามารถรองรับได้ คือ 500x0.8= 400 วัตต์
             2.สมมติว่าขนาดของอุปกรณ์ต่อเชื่อมของคุณมีค่า 250 วัตต์ และมีค่า Power factor เท่ากับ 0.8 ก็สามารถที่จะคำนวณได้จาก 250/0.8 ซึ่งเท่ากับ 312.5 VA ดังนั้นคุณก็ควรเลือก UPS ที่มีขนาด 312.5 VA ขึ้นไป ซึ่งขนาดของ UPS (ยูพีเอส) ที่น้อยสุดในปัจจุบันมีค่า 500VA โดยเป็นค่าที่เหมาะสมมากกับการนำไปใช้งานเล็กๆน้อย ยิ่งจำนวนวัตต์ของคุณมีค่ามากเท่าไหร่ ท่านก็ควรจะหา UPS (ยูพีเอส) ที่มีค่า VA เพิ่มมากขึ้นเท่านั้นครับ

          ผมได้พากันทดสอบ UPS กับจักรปัก 4หัว, 6หัว (ทั้งแบบลดโต๊ะและหน้าเรียบ) จึงเอาความรู้นี้มาบอกต่อกับเพื่อนๆครับ มีรุ่นที่ทดสอบ 3 รุ่น ดังนี้
1.เครื่องจักรปัก 4หัว, 6หัว ใช้ไฟ 220 v. 750 w. (หน้าเรียบ) ไฟที่ใช้จริงตอนที่โหลดสูงสุดอยู่ที่ 610 w.
2.เครื่องจักรปัก 4หัว, 6หัว ใช้ไฟ220 v. 600 w. (ลดโต๊ะ)  ไฟที่ใช้จริงตอนที่โหลดสูงสุดอยู่ที่ 530 w.
   ผมขออนุญาตอธิบายแบบเรียบง่ายนะครับ ว่าทำไหมเราถึงต้องการใช้ ups หลายๆคนคงจะตอบเหมือนๆกันครับว่า ที่ต้องการเพราะว่า เวลาไฟดับเครื่องสามารถที่จะปักงานต่อไปได้สักพัก พอที่เราจะมีเวลาปิดเครื่อง เพราะฉะนั้นเราจึงพากันทดสอบ ups(เอามาทอสอบหลายยี่ห้อ แต่ขนาดเท่ากันหรือใกล้เคียง) แต่ล่ะยี่ห้อแบ่งเป็น 3 แบบ ดังนี้ครับ

1.Line Interactive with Stabilizer
ขนาด 1500VA/900W     
Output Wave form=   Modified Sine wave
Transfer Time=   2 ms.

2.Line Interactive with Stabilizer
ขนาด   1500VA/870W   
Output Wave form =Pure Sine Wave
Transfer Time=   2 ms.

3.True Online Double Conversion with Stabilizer
ขนาด   1000VA/700W
Output Wave form = Sine Wave
Transfer Time=   0 ms.(Zero transfer time)
 
 จากการที่ได้ทดสอบของจริง พบว่า แบบที่ 1 และแบบที่ 2 ไม่สามารถตอบสนองตามความต้องการของเราได้เนื่องจากว่า เราทดสอบง่ายๆโดยการถอดปลั๊กไฟ ทั้งสองแบบ เพราะว่า ช่วงเวลาที่ไฟดับแล้ว ups เพื่อแปลงไฟฟ้า (DC) จากแบตเตอรี่ให้กลายเป็นไฟฟ้าสลับ (AC) จะใช้เวลา 2 ms. ในการสลับ (ค่าTransfer Time ) มีผลทำให้เครื่องหยุด(ดับไปเหมือนปิดเครื่อง) เราทดสอบต่ออีกโดยการ เปิดเครื่องอีกครั้งจาก ups เครื่องสามารถเปิดได้และทำงานต่อได้โดยไม่ต้องเสียบไฟบ้าน ( เวลาสำรองจะไม่เท่ากันเนื่องจากว่า มีหลายอย่างเป็นองค์ประกอบ แต่มีเวลาเหลือเฟือที่เราตรวจสอบความเรียบร้อยก่อนปิดเครื่อง)
       ข้อแตกต่างของสองรุ่นนี้คือคลื่นไฟฟ้า แบบที่ 1 รูปคลื่นแบบรูปสี่เหลี่ยม(Step wave) แบบที่ 2 รูปคลื่นแบบไซน์เวฟ (Sine wave) เช่นเดียวกันกับรูปคลื่นไฟฟ้าแบบปกติของการไฟฟ้าแห่งประเทศไทย

       แบบทดสอบสุดท้ายคือ แบบที่ 3 เราก็ทดสอบง่ายๆเหมือนกันโดยการถอดปลั๊กไฟ เครื่องไม่หยุดหรือดับ  เครื่องสามารถปักงานต่อไปได้ เพราะว่าแบบ True Online จะไม่มีช่วงเวลาสลับไฟจาก DC เป็น AC (Zero transfer time) จากการจับเวลา สามารถปักต่อไปได้ ประมาณ 2-3 นาที(ups ร้องเตือน แต่เครื่องปักยังทำงานอยู่ ผมจึงทำการเสียบปลั๊กไฟ )

       สรุปว่า แบบหรือรุ่นที่เหมาะสมกับเครื่องปักมากที่สุดคือ แบบ True Online Double Conversion with Stabilizer เพราะว่าไปดับแล้วปักงานต่อได้ (เสียอย่างเดียวราคาแพงกว่าเพื่อนเลย) จึงเอาข้อมูลของจริงที่ทดสอบจริงมาฝากเพื่อนๆครับ

ความสามารถในการสำรองไฟ
             ท่านคงจะทราบว่า UPS (ยูพีเอส) แต่ละตัวก็จะมีความสามารถในการสำรองไฟฟ้าหรือค่า Backup Time ที่แตกต่างกัน ซึ่งค่านี้หมายความว่า ระยะเวลาที่ UPS (ยูพีเอส) ของคุณสามารถที่ส่งกระแสไฟฟ้าไปให้อุปกรณ์ต่อพ่วงได้ โดยนับหลังจากเกิดกระแสไฟฟ้าดับหรือเหตุขัดข้องเกี่ยวกับไฟฟ้าต่างๆไปจนถึงเวลาที่ UPS (ยูพีเอส) ไม่สามารถดึงพลังงานของแบตเตอรี่เพื่อส่งให้อุปกรณ์ต่อพ่วงต่อไปได้ โดยระยะเวลาดังกล่าวนั้นจะมีค่าที่แตกต่างกันออกไปตามความสามารถของ UPS (ยูพีเอส) ที่ท่านใช้งานอยู่ ซึ่งบางเครื่องอาจสามารถสำรองไฟไว้ได้เป็นเวลานานในช่วงระหว่าง 10 – 30 นาที เป็นต้น ซึ่งในการบอกค่า Backup Time เป็นช่วงเวลานั้นก็เพราะว่าไม่สามารถบอกค่าที่แน่นนอนในการสำรองไฟได้ เพราะเราไม่ทราบว่าอุปกรณ์ที่นำไปต่อเข้ากับ UPS (ยูพีเอส) นี้มีจำนวนมากเท่าไร ยิ่งจำนวนของอุปกรณ์ต่อเชื่อมมีจำนวนมากขึ้นเท่าใด ระยะเวลาในการสำรองไฟนั้นก็มีค่าน้อยลงเท่านั้น ดังนั้นในการเลือกซื้อ UPS (ยูพีเอส) จึงควรที่จะหา UPS (ยูพีเอส) ที่มีระยะเวลาในการสำรองไฟที่มีค่ามากๆ ยิ่งมากเท่าไรยิ่งดีครับ แต่ราคาก็จะแพงตามขึ้นไปด้วยครับ  police police
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2556, 23:18:19 โดย toto6364 » บันทึกการเข้า
toto6364
Extras Member
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 477
สมาชิก Nº: 27

คำขอบคุณ
-ได้ให้: 286
-ได้รับ: 1821


เว็บไซต์ โปรแกรม: Wilcom e3.0
จักรปัก: ฮูเรย์ เวนเจอร์ (hooray)
« ตอบ #11 เมื่อ: วันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2556, 00:29:10 »

คุณไม่สามารถดูข้อความนี้.กรุณา ลงทะเบียน หรือ เข้าสู่ระบบ
วันนี้มีของเล่นใหม่เข้ามา สั่งมาให้น้องจักรโดยเฉพาะ "KPS Automatic Voltage Stabilizer" ทำหน้าที่แปลงกระแสไฟฟ้าให้นิ่ง ป้องกันไฟตก ไฟเกิน ไฟกระชาก ฟ้าผ่า (แต่ไม่สำรองไฟ) ขนาด 10 KVA  INPUT 220 VAC +- 20 %  OUTPUT 220 VAC +- 5%  ใช้กับจักรหลาย ๆ หัว ได้อย่างสบาย ๆ  ไชโย
คุณไม่สามารถดูข้อความนี้.กรุณา ลงทะเบียน หรือ เข้าสู่ระบบ
คุณไม่สามารถดูข้อความนี้.กรุณา ลงทะเบียน หรือ เข้าสู่ระบบ
OUTPUT 220 VAC +- 5%  ผมว่ามันเยอะไปอ่ะครับ  220  +- 5%  = 209 V - 231 V
ไม่ควรเกิน +- 2% นะครับ น่าจะประมาณ 215-225 น่าจะโอกว่า (แต่ +- 2% ราคาน่าจะแพงกว่านี้)
สงสัยจังว่าทำมั้ยท่านทองไม่เล่นแบบ True Online Double Conversion with Stabilizer ขนาดสัก 1K เครื่อง 1 หัวเหลือๆครับ ราคาไม่เกิน 20,000 บาท ค่า OUTPUT 220 VAC +- ไม่ถึง 1% (219V-221V) เท่านั้น   สำรองไฟได้ด้วยน่าจะหลายนาทีเลยอ่ะครับ (ยังไม่ได้ทดสอบกับเครื่อง 1 หัว)police
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2556, 00:31:30 โดย toto6364 » บันทึกการเข้า
tongtawee
Extras Member
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1061
สมาชิก Nº: 30

คำขอบคุณ
-ได้ให้: 2405
-ได้รับ: 5412


« ตอบ #12 เมื่อ: วันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2556, 09:13:56 »

ที่จริงเครื่องขนาด 10K ราคาจะแพงกว่านี้มาก เครื่องตัวนี้เป็นเครื่องรุ่นเก่า ๆ ที่ค้างสต็อกที่เขาต้องการระบายออก คุยไปคุยมาจึงได้ราคานี้ ก็เลยจัดเลย  Smiley แต่ดูที่ Output Voltage กระแสไฟก็นิ่งมาก เครื่องรุ่นใหม่ ๆ ก็น่าจะ +- ที่ 2 % ตามช่างโตว่า ถือว่าซื้อขนาด 10K ไว้เผือจักรหลายหัวไว้เลย 55555 Wink ไชโย
บันทึกการเข้า

เพราะแสวงหา มิใช่ เพราะรอคอย
เพราะเชียวชาญ มิใช่ เพราะโอกาส
เพราะสามารถ มิใช่ เพราะรอคอย
ลิลิตฟ้า หรือ จะสู้ มานะตน

คำคมจาก...คุณไก่ สมพล รายการกิ๊กดู่สงครามเพลง
คุณไม่สามารถดูข้อความนี้.กรุณา ลงทะเบียน หรือ เข้าสู่ระบบ
JTC
I am the wind
Hero Member
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4629
สมาชิก Nº: 3

คำขอบคุณ
-ได้ให้: 6113
-ได้รับ: 31077


โปรแกรม: Wilcom
จักรปัก: None
« ตอบ #13 เมื่อ: วันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2556, 09:46:30 »

คำถาม สำรองไฟ(UPS) สำคัญไหมสำหรับจักร ถ้าเป็นจักรกระเป๋าหิ้ว ก็พอได้ครับสามารถทำงานต่อได้สักครึ่งชั่วโมงได้ แต่ถ้าเป็นจักรใหญ่หัวเดียวหลายเข็มขึ้นไป ผมมองว่าเป็นการสูญเปล่าที่จะนำ UPS มาจ่ายไฟสำรอง  อีกอย่างระบบไฟฟ้าเมืองไทยค่อนข้างดับน้อยมาก  จึงแนะนำ AVS(Automatic Voltage Stabilizer) มาใช้จะเหมาะสมกว่านะครับ
บันทึกการเข้า

มาร่วมกันรณรงค์ใช้ภาษาไทยกันอย่างถูกต้องกันดีกว่า
งดให้ความช่วยเหลือกับผู้ใช้ภาษาไทยไม่ถูกต้อง
Facebook : คุณไม่สามารถดูข้อความนี้.กรุณา ลงทะเบียน หรือ เข้าสู่ระบบ
RCM
Jr. Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 64
สมาชิก Nº: 460

คำขอบคุณ
-ได้ให้: 496
-ได้รับ: 156


« ตอบ #14 เมื่อ: วันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2556, 10:16:13 »

คุณไม่สามารถดูข้อความนี้.กรุณา ลงทะเบียน หรือ เข้าสู่ระบบ
ต่ำคำถาม สำรองไฟ(UPS) สำคัญไหมสำหรับจักร ถ้าเป็นจักรกระเป๋าหิ้ว ก็พอได้ครับสามารถทำงานต่อได้สักครึ่งชั่วโมงได้ แต่ถ้าเป็นจักรใหญ่หัวเดียวหลายเข็มขึ้นไป ผมมองว่าเป็นการสูญเปล่าที่จะนำ UPS มาจ่ายไฟสำรอง  อีกอย่างระบบไฟฟ้าเมืองไทยค่อนข้างดับน้อยมาก  จึงแนะนำ AVS(Automatic Voltage Stabilizer) มาใช้จะเหมาะสมกว่านะครับ

โฮ..อ.JTC ไม่มาอยู่แถวบ้านผม ดับข้ามวันยังไม่เลย อันนั้นอะไรก็ช่วยไม่ได้ แต่ไฟตก ไฟกระชาก ผมว่า UPS ช่วยได้ครับ เห็นผลเลยผมซื้อ
UPS ที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ ราคา 4000 กว่าๆ ต่อเข้ากับคอมละก็จักรหัวเดียว เวลาไปดับสามารถปักไปได้ซักระยะ ผมใช้มา จะ 3ปีแล้วครับ
ถ้าจำไม่ผิดยี่ห้อ Sindrome มั๊งครับ ลองดูได้ครับ ไม่ต้องลงทุนสูงครับ
บันทึกการเข้า

"แท้จริงอัลลอฮ. จะอยู่กับผู้ที่อดทน"
หน้า: [1] 2   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.16 | SMF © 2011, Simple Machines
SimplePortal 2.3.7 © 2008-2025, SimplePortal

SMFAds for Free Forums

Clear Mind Theme, by StathisG
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.058 วินาที กับ 32 คำสั่ง