ThaiEMB.com สังคมแห่งมิตรภาพ และการแบ่งปัน

ช่างปักผ้า => เทคนิคการปักผ้า => ข้อความที่เริ่มโดย: Kriangkraiw ที่ วันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556, 08:21:18



หัวข้อ: นำเสนอเทคนิคการปักแบบผสมผสาน
เริ่มหัวข้อโดย: Kriangkraiw ที่ วันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556, 08:21:18
พอดีมีคำถามว่างานลักษณะแบบนี้ทำได้อย่างไร คือเทคนิคอะไร
วันนี้จึงขอนำเสนอเทคนิดการปักผ้าสำหรับงานที่เป็นข้อจำกัดของงานปัก
เช่น ตัวหนังสือเล็กมากจนปักแล้วอ่านไม่ออก แต่ลูกค้าต้องการให้อ่านได้อย่างชัดเจน หรือ
      ปักไล่เฉดสีอย่างกลมกลืน ฯลฯ

เทคนิดนี้คือการผสมผสานระหว่างงานปัก และงาน Heat tranfer

1. เริ่มต้นเราก็ปักทาทามิรองพื้นก่อน ส่วนใหญ่ที่พบจะเป็นสีขาว หรือสีอ่อน เพราะเนื่องจากเครื่องพิมพ์ของเราไม่มีสีขาวพิมพ์ลงไป

(http://upic.me/i/qh/1photo4.jpg) (http://upic.me/show/46855692)

2. จากนั้น ก็พิมพ์โลโก้ที่ต้องการออกมาใส่ในกระดาษสำหรับทำ Heat tranfer ต่อไป

(http://upic.me/i/o5/4photo1.jpg) (http://upic.me/show/46855695)

3. เข้าเครื่อง Heat เป็นอันเสร็จขั้นตอนการทำงาน

(http://upic.me/i/tj/2photo2.jpg) (http://upic.me/show/46855702)


ตัวอย่างงานที่สำเร็จออกมาแล้ว

(http://upic.me/i/bh/2photo3.jpg) (http://upic.me/show/46855703)

ส่วนงานชิ้นนี้เป็นงาน ของแท้ จะเพิ่มขั้นตอนอีกขั้นหนึ่ง และอาศัยความแม่นยำในการปักครั้งที่สองเพิ่มอีกขั้นหนึ่ง

(http://upic.me/i/yi/2photo5.jpg) (http://upic.me/show/46855711)

หวังว่าคงเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย สำหรับท่านที่ยังไม่ทราบเทคนิดนี้นะครับ

ขอขอบคุณลูกค้าเครื่องปัก RiCOMA ท่านหนึ่งในภาคอีสาน สำหรับภาพประกอบด้วยครับ

เกรียงไกร


หัวข้อ: Re: นำเสนอเทคนิคการปักแบบผสมผสาน
เริ่มหัวข้อโดย: Kriangkraiw ที่ วันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556, 09:43:44
เพิ่มเติมสำหรับเทคนิคนี้ ต้องปักสำหรับไหมเรยอนเท่านั้นนะครับ
(ได้ความรู้มาจากท่านวินนี่ เดอะพูห์ครับ)
สำหรับไหมโพลี และดิ้นทอง ดิ้นเงิน จะ Heat ทับลงไปไม่ติดนะครับ
และตัวไหมดิ้นและโพลีจะมีผลต่อความร้อน เพราะไม่ทนต่อความร้อนสูงนานๆครับ

เกรียงไกร


หัวข้อ: Re: นำเสนอเทคนิคการปักแบบผสมผสาน
เริ่มหัวข้อโดย: giftkids ที่ วันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556, 09:49:35
ต้องลอง และมันจะหลุดง่ายมั้ยค่ะ


หัวข้อ: Re: นำเสนอเทคนิคการปักแบบผสมผสาน
เริ่มหัวข้อโดย: JTC ที่ วันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556, 09:54:34
เทคนิคน่าสนใจครับ แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ มันจะทนหรือไม่ ซักแล้วตัวสีที่ทรานเฟอร์เข้าไปจะหลุดลอกหรือไม่


หัวข้อ: Re: นำเสนอเทคนิคการปักแบบผสมผสาน
เริ่มหัวข้อโดย: Kriangkraiw ที่ วันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556, 09:55:34
คุณไม่สามารถดูข้อความนี้.กรุณา ลงทะเบียน หรือ เข้าสู่ระบบ
ต้องลอง และมันจะหลุดง่ายมั้ยค่ะ

ระดับตราในหลวงใช้งาน ผมคิดว่าคงไม่หลุดง่ายหรอกครับ
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขั้นตอนการ Heat ครับว่าใช้กระดาษ และเครื่อง heat ที่มีคุณภาพอย่างไร
ผมคิดว่าความทนทานเหมือนกับงาน Heat ทั่วไปครับ

เกรียงไกร


หัวข้อ: Re: นำเสนอเทคนิคการปักแบบผสมผสาน
เริ่มหัวข้อโดย: darknet ที่ วันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556, 10:20:43
น่าจะได้ 50น้ำอ่าครับ แต่ยังไม่เคยลองซักนะครับ

ไม่ทราบว่าไฟและแรงที่ใช้ในการอัดประมาณเท่าไหร่ครับ หรือมีวิธีไหนให้ผ้าที่โดนความร้อนแล้วไม่ขึ้นเงาครับ :-[ :-X ???


หัวข้อ: Re: นำเสนอเทคนิคการปักแบบผสมผสาน
เริ่มหัวข้อโดย: Kriangkraiw ที่ วันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556, 10:24:22
คุณไม่สามารถดูข้อความนี้.กรุณา ลงทะเบียน หรือ เข้าสู่ระบบ
น่าจะได้ 50น้ำอ่าครับ แต่ยังไม่เคยลองซักนะครับ

ไม่ทราบว่าไฟและแรงที่ใช้ในการอัดประมาณเท่าไหร่ครับ หรือมีวิธีไหนให้ผ้าที่โดนความร้อนแล้วไม่ขึ้นเงาครับ :-[ :-X ???

ก็ใช้ผ้าเช็คหน้าที่ใช้แล้ว บางๆ มารองทับก่อนจะ Heat ครับ
เทคนิคนี้ได้จากคุณแม่เวลารีดกางเกง ท่านสอนช่างรีดผ้าไว้ครับ

เกรียงไกร


หัวข้อ: Re: นำเสนอเทคนิคการปักแบบผสมผสาน
เริ่มหัวข้อโดย: darknet ที่ วันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556, 10:44:03
ขอบคุณครับเดี๋ยวผมจะลองดูครับ  :bravo:


หัวข้อ: Re: นำเสนอเทคนิคการปักแบบผสมผสาน
เริ่มหัวข้อโดย: kochai ที่ วันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556, 13:58:10
(http://upic.me/i/j0/81551.png) (http://upic.me/show/46860461)


หัวข้อ: Re: นำเสนอเทคนิคการปักแบบผสมผสาน
เริ่มหัวข้อโดย: Kriangkraiw ที่ วันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556, 21:22:49
ผมขอแนะนำ และแก้ไขความเข้าใจผิดเพิ่มเติมดังนี้ครับ

เนื่องจากวันนี้ผมได้ไปออกงานที่เมืองทองธานี
ในงานก็มีบูธของเครื่อง  Heat tranfer
ผมก็เกิดไอเดียว่าทดลองทำตัวอย่างทดสอบขึ้นมาดูดีกว่า

ผลลัพธ์ที่ได้ก็เป็นดังรูปครับ

(http://upic.me/i/zh/photo2-1.jpg) (http://upic.me/show/46918159)

สรุป จากผลการทดลองทำด้วยตัวเอง ได้ดังนี้

วัสดุที่เป็น COTTON หรือ วัสดุที่ทำมาจากธรรมชาติมีส่วนผสม จะทำให้หมึก Sublimation ไม่ติดกับพื้นผิวชิ้นงานนั้นๆ
วัสดุที่หมึก Sublimation จะติดได้ดี สีสด คือวัสดุสังเคราะห์

และจากการสอบถาม ถึงความคงทน จะติด สีสด ได้ดีทนทานต่อการซัก สีไม่ซีดลง แม้ซักไปเป็นเวลานาน

ส่วนเทคนิคการ Heat ยังไงไม่ให้ผ้าสีขาว หรือสีอ่อนมีความเหลืองจากการโดนความร้อน
ผมเห็นเจ้าหน้าที่ใช้กระดาษปูทับก่อนที่จะกดแป้น Heat ทับลงไปครับ

ขอบคุณครับ
เกรียงไกร

หมายเหตุ
ไหม Rayon จะมีส่วนผสมของ COTTON หรือ ฝ้ายอยู่มากกว่า วัสดุสังเคราะห์
ไหม Polyester จะเป็นไหมที่มาจากวัสดุสังเคราะห์ 100%


หัวข้อ: Re: นำเสนอเทคนิคการปักแบบผสมผสาน
เริ่มหัวข้อโดย: Kriangkraiw ที่ วันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556, 21:24:27
ตอนไปให้เจ้าหน้าที่ทดสอบให้ ใกล้เวลาปิดบูธครับ
เลยเกิดความเร่งรีบ ทำให้ Heat รูปภาพมาไม่ตรงกับลายที่ปักเอาไว้ครับ

เกรียงไกร


หัวข้อ: Re: นำเสนอเทคนิคการปักแบบผสมผสาน
เริ่มหัวข้อโดย: Kriangkraiw ที่ วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556, 17:36:46
เสริมเพิ่มเติมข้อดีข้อเสียครับ จากที่ได้ไปสัมผัสกับผู้รู้มาครับ

ทรานเฟอร์รุ่นแรก จะใช้หมึกธรรมดาในเครื่องพิมพ์มาพิมพ์ใส่กระดาษทรานเฟอร์
ซึ่งข้อเสียคือ สีซีดจางเร็ว หมึกติดไม่ทน อย่างที่กังวลกันครับ กระดาษทรานเฟอร์มีราคาแพง

แต่รุ่นใหม่นี้ กระดาษทรานเฟอร์ราคาถูกลงแผ่นละประมาณ 2-2.50 บาท
 น้ำหมึกเป็นชนิด Sublimation ราคาพอสมควร หนึ่งลิตรประมาณ 3000-4500 บาท
แต่มีข้อจำกัดคือ tranfer ได้กับวัสดุสังเคราะห์เท่านั้น
ข้อดีคือ หมึกคงทน สีสดใส ไม่ซีดจาง ใช้ไปได้นานจนผ้าเก่า แต่สียังคงสดใสอยู่ครับ

เกรียงไกร


หัวข้อ: Re: นำเสนอเทคนิคการปักแบบผสมผสาน
เริ่มหัวข้อโดย: Mongkol ที่ วันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2556, 00:04:32
เพิ่มเติมนะครับ สามารถทำใส่แก้วได้ คลิสตรัล case มือถือได้ครับ
สีติดคงทน สำหรับงานปัก รับรองทนครับ
ผมทดลองและมีเครื่องอยู่ที่บ้าน และมีระบบ 3d vacuum ด้วยทดลองแล้วสีแจ่มมากๆ
เคสโทรศัพท์ สีสดมาก งอเคส สีไม่แตก
เดี๋ยวถ่ายรูปตัวอย่างให้ดู พรุ่งนี้ครับ


หัวข้อ: Re: นำเสนอเทคนิคการปักแบบผสมผสาน
เริ่มหัวข้อโดย: kalasinpolo ที่ วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2556, 22:09:01
คุณไม่สามารถดูข้อความนี้.กรุณา ลงทะเบียน หรือ เข้าสู่ระบบ
ระดับตราในหลวงใช้งาน ผมคิดว่าคงไม่หลุดง่ายหรอกครับ
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขั้นตอนการ Heat ครับว่าใช้กระดาษ และเครื่อง heat ที่มีคุณภาพอย่างไร
ผมคิดว่าความทนทานเหมือนกับงาน Heat ทั่วไปครับ

เกรียงไกร
วีธีนี้มีโรงปักหนึ่งเคยทำตอนเสื้อเหลือง เขา หวงหรือปิดกั้นอย่างมากครับ กลัวคนอื่นเห็นกรรมวิธี วันนี้ผมได้รับรู้กรรมวิธีจากท่านเกรียงไกรแล้ว ทำให้รู้ว่า คนเก่งคนรู้จริงไม่ได้มีคนเดียว แน่


หัวข้อ: Re: นำเสนอเทคนิคการปักแบบผสมผสาน
เริ่มหัวข้อโดย: kochai ที่ วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2556, 22:31:48
คุณไม่สามารถดูข้อความนี้.กรุณา ลงทะเบียน หรือ เข้าสู่ระบบ
เพิ่มเติมนะครับ สามารถทำใส่แก้วได้ คลิสตรัล case มือถือได้ครับ
สีติดคงทน สำหรับงานปัก รับรองทนครับ
ผมทดลองและมีเครื่องอยู่ที่บ้าน และมีระบบ 3d vacuum ด้วยทดลองแล้วสีแจ่มมากๆ
เคสโทรศัพท์ สีสดมาก งอเคส สีไม่แตก
เดี๋ยวถ่ายรูปตัวอย่างให้ดู พรุ่งนี้ครับ
ขอบคุณมากครับ รอชมอยุ่นะครับ ท่านมงคล 


หัวข้อ: Re: นำเสนอเทคนิคการปักแบบผสมผสาน
เริ่มหัวข้อโดย: kochai ที่ วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556, 14:10:09
วันนี้ไปที่ร้านของพี่สาว  เป็นร้านขายเสื้อผ้า  เห็นเสื้อตัวหนึ่ง  ใช้ระบบอย่างที่คุณเกรียงไกร ได้นำเสนอแล้ว

(http://upic.me/i/ik/wtr01.png) (http://upic.me/show/47124002)

(http://upic.me/i/4o/ltr02.png) (http://upic.me/show/47124011)

(http://upic.me/i/7z/ltr03.png) (http://upic.me/show/47124021)


หัวข้อ: Re: นำเสนอเทคนิคการปักแบบผสมผสาน
เริ่มหัวข้อโดย: luxurytailor ที่ วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2556, 19:01:17
คุณไม่สามารถดูข้อความนี้.กรุณา ลงทะเบียน หรือ เข้าสู่ระบบ
เสริมเพิ่มเติมข้อดีข้อเสียครับ จากที่ได้ไปสัมผัสกับผู้รู้มาครับ

ทรานเฟอร์รุ่นแรก จะใช้หมึกธรรมดาในเครื่องพิมพ์มาพิมพ์ใส่กระดาษทรานเฟอร์
ซึ่งข้อเสียคือ สีซีดจางเร็ว หมึกติดไม่ทน อย่างที่กังวลกันครับ กระดาษทรานเฟอร์มีราคาแพง

แต่รุ่นใหม่นี้ กระดาษทรานเฟอร์ราคาถูกลงแผ่นละประมาณ 2-2.50 บาท
 น้ำหมึกเป็นชนิด Sublimation ราคาพอสมควร หนึ่งลิตรประมาณ 3000-4500 บาท
แต่มีข้อจำกัดคือ tranfer ได้กับวัสดุสังเคราะห์เท่านั้น
ข้อดีคือ หมึกคงทน สีสดใส ไม่ซีดจาง ใช้ไปได้นานจนผ้าเก่า แต่สียังคงสดใสอยู่ครับ

เกรียงไกร


กระดาษทรานเฟอรอะไรหรอครับพี่เกรียงไกร ทำไมมันถูกจัง แผ่นละ 2-2.50 บาทนะครับ


หัวข้อ: Re: นำเสนอเทคนิคการปักแบบผสมผสาน
เริ่มหัวข้อโดย: johnnie ที่ วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2557, 01:09:07
น่าสนใจครับ


Sent from my iPhone5 using Tapatalk